วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554

“กวดวิชา เรียนพิเศษ” จำเป็นหรือแฟชั่น

โดย จิตรา วงศ์บุญสิน

 เรียนพิเศษ เรียนเสริม เรียนซ่อม เรียนเร่งรัด เป็นสิ่งที่สังคมไทยมีมานาน เพื่อเป็นการช่วยเหลือเด็กที่เรียนอ่อน หรือเพื่อเรียนให้ทันเพื่อน ต่อมามีการเก็บค่าเรียน กลายเป็นการเรียนแบบธุรกิจการค้า มีการจัดหลักสูตรแบ่งเป็นรายวิชา จึงเปลี่ยนการเรียกเป็น “กวดวิชา” จุดมุ่งหมายในการเรียนเริ่มเปลี่ยนไป ไม่ใช่เฉพาะเด็กที่เรียนอ่อนเท่านั้น แต่เด็กทุกคนที่เรียนกวดวิชาต้องการเรียนให้เก่งขึ้น เรียนเก่งกว่าคนอื่นในวิชา โดยเฉพาะเมื่อต้องมีการสอบคัดเลือก ก็จะเลือกเรียนกวดวิชาที่ตัวเองคิดว่าขาดหรือไม่เก่งพอ  

        การกวดวิชาไม่ใช่พบแต่ในประเทศไทย แต่พบได้หลายประเทศทั้งในทวีปเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน อินโดนีเซีย พม่า ในทวีปอัฟริกา ยุโรปตะวันออก และอเมริกากลาง  ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาระบุตรงกันว่า การเรียนกวดวิชาจะพบในกลุ่มประเทศที่คุณภาพของโรงเรียนและมหาวิทยาลัยไม่ทัดเทียมกันเด็กนักเรียนมีความจำเป็นในการแข่งขันเพื่อเข้าเรียนโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ แต่รับนักเรียนได้จำกัด โดยมีความหวังว่าจะมีโอกาสและอนาคตที่ดีกว่าคนอื่น  

        การเรียนกวดวิชาในประเทศไทยมีมาตั้งแต่เมื่อไรไม่เคยมีคนเขียนไว้ แต่ประมาณว่ามีมาไม่น้อยกว่า 40 ปี มีหลายระดับชั้นที่มีการสอบแข่งขันเข้าโรงเรียนของรัฐ และระดับมหาวิทยาลัย เช่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มัธยมศึกษาปีที่ 1 มัธยมศึกษาปีที่ 4 และมหาวิทยาลัย แต่ระดับชั้นที่มีการกวดวิชาหนาแน่นที่สุดคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประมาณกันว่ามีเด็กนักเรียนประมาณร้อยละ 30 หรือประมาณ 330,000 คน/ปี  เรียนกวดวิชาในปี พ.ศ. 2549  

        สำหรับธุรกิจเรียนกวดวิชานั้น เคยมีผู้ประเมินเรื่องค่าเรียนว่าไม่ต่ำกว่าปีละ 3,000 ล้านบาท โดยมีเด็กนักเรียนเรียนเฉลี่ย 3 คอร์สต่อเทอม ค่าเรียนเฉลี่ยคอร์สละประมาณ 2,000 บาท    

        งานวิจัยของ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ถามแบบสอบถามนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 2,000 คน และได้ถามแบบสอบถามผู้ปกครอง  อาจารย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 จำนวน 1,000 คน พบว่า  

        ‘ เด็กเรียนเก่ง (เกรดเฉลี่ย 3.00 ขึ้นไป) เรียนกวดวิชามากกว่าเด็กเรียนอ่อน (เกรดเฉลี่ย  2.00-2.50)  
        ‘ เด็กในเมืองเรียนกวดวิชามากกว่าเด็กนอกเมือง (ร้อยละ 70 ของเด็กในเมืองเรียนกวดวิชา ส่วนร้อยละ 10-20 ของเด็กนอกเมืองที่เรียนกวดวิชา)    
        ‘ อาชีพผู้ปกครอง พบว่า รับราชการหรือค้าขายส่งบุตรหลานเรียนกวดวิชามากกว่าอาชีพเกษตรกรหรือประมง  

        ถ้านับธุรกิจเสริมนอกจากค่าเรียนกวดวิชาได้แก่ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าพิมพ์คู่มือ ค่าเอกสารอื่นๆ ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มเป็นเงินปีละประมาณ 14,000 ล้านบาท 

จุดมุ่งหมายของเด็กนักเรียนที่เรียนกวดวิชา

   1.   ต้องการให้ผลการเรียนดีขึ้น ยิ่งมีการใช้ GPA ร้อยละสูงขึ้น ยิ่งต้องกวดวิชามากขึ้น ผลการเรียนจะได้ดีขึ้น เพราะเป็นการเตรียมตัวล่วงหน้า ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น และค่า GPA ก็จะดีขึ้นด้วย
   2.   เชื่อว่าเรียนกวดวิชาช่วยในการสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัย โดยเฉพาะวิชาหลักที่คะแนนมีความแตกต่างสูง เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภาษาอังกฤษ
   3.    เพื่อให้ได้เทคนิคการทำข้อสอบ ได้พบข้อสอบแปลกใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน สามารถทำข้อสอบได้ง่ายขึ้น แม่นยำขึ้น ใช้เวลาน้อยลงเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ได้มีการจัดการเสวนาโดยนักวิจัยและผู้เกี่ยวข้องด้านการศึกษาหลายฝ่าย เรื่อง “วิกฤตที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา” สรุปว่า สาเหตุของการเรียนกวดวิชามีองค์ประกอบที่ซับซ้อน 3 ด้านด้วยกัน 

1.   ด้านวิชาการ
   1.1   การเรียนการสอนในโรงเรียน จะเน้นเนื้อหาให้ครอบคลุมครบหลักสูตรทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ มีการแจกใบงานเก็บคะแนน และสอบ ส่วนการเรียนกวดวิชาจะเน้นเนื้อหาที่ใช้สอบระหว่างปี และสอบเข้ามหาวิทยาลัย มีการสรุป การทดลองทำข้อสอบ การเฉลย และการเก็งข้อสอบเบ็ดเสร็จ
   1.2   ครูแต่ละโรงเรียนมีคุณภาพไม่เท่ากัน อัตราครูต่อเด็ก 1:40-50 คน ครูที่มีคุณภาพดีในสาขาหลักๆ ทั่วประเทศมีไม่ถึงร้อยละ 30 นอกจากนี้ครูในโรงเรียนยังต้องทำงานหนัก ทั้งงานสอน งานปรับวุฒิ งานนโยบายที่มีไม่ขาดสาย ทำให้ไม่มีเวลาที่จะเพิ่มพูนความรู้ด้านวิชาการ ไม่มีเวลาในการเตรียมการสอนเท่าที่ควร ขณะที่ครูโรงเรียนกวดวิชาจะมีเวลามากกว่าเพราะทุ่มเทวิชาเดียว การมีลูกศิษย์จากสถานศึกษาหลากหลายจะพบปัญหามากกว่า มีเวลาเตรียมการสอนมากกว่าโดยมีผลตอบแทนที่สูงกว่ากันมากหลายเท่า
   1.3   การสอบเข้ามหาวิทยาลัย ออกข้อสอบโดยอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ไม่ได้สอนเด็ก  ข้อสอบจะเน้นการแข่งขันด้านวิชาการ เนื้อหาของข้อสอบแต่ละปีจะยากขึ้นเรื่อยๆ บ่อยครั้งที่เนื้อหาข้อสอบสูงกว่าหลักสูตรที่เรียนอยู่ ทำให้นักเรียนมีความจำเป็นต้องเรียนกวดวิชา 

2.   ด้านจิตวิทยา  
        เนื่องจากคุณภาพของครู และการเรียนการสอนที่แตกต่างกันในแต่ละโรงเรียน ทำให้เด็กรวมทั้งผู้ปกครองเกิดความวิตกว่าจะเสียเปรียบ จึงพยายามที่จะช่วยตัวเองและลูกหลานด้วยการเรียนกวดวิชา จากแบบสอบถามของอาจารย์ไพฑูรย์ พบว่าแม้เด็กที่เก่งอยู่แล้วหรือเด็กที่อยู่ในโรงเรียนที่มีคุณภาพระดับต้นของประเทศไทย ก็ยังรู้สึกไม่มั่นใจถ้าไม่ได้ไปเรียนกวดวิชา 

3.   ค่านิยมของสังคม  
        ค่านิยมในการเข้าศึกษาต่อในสถาบันที่มีชื่อเสียง ทำให้มีการแข่งขันในระบบการศึกษาสูง ผู้มีโอกาสมีฐานะจึงนิยมเรียนกวดวิชา เพราะเห็นว่าการเรียนกวดวิชาจะสร้างความมั่นใจให้สามารถเข้าเรียนในสถาบันที่มีชื่อเสียงได้  
        ธุรกิจบัณฑิตโพลเรื่อง “ค่านิยมมหาวิทยาลัย และอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย” รายงานผลการสำรวจนักเรียนจำนวน 1,376 คน พบว่า อาชีพที่อยากเรียนคือ วิศวกร แพทย์ นิเทศศาสตร์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักเรียนส่วนใหญ่รู้สึกว่าการเรียนกวดวิชายังจำเป็นเพื่อสร้างความมั่นใจให้เข้าสถาบันที่มีชื่อเสียงได้ 

ปัญหาและผลกระทบของการเรียนกวดวิชา
   1.   คุณภาพชีวิตของเด็กกับครอบครัวลดลง เพราะเด็กต้องทุ่มเวลาในการเรียนตลอดสัปดาห์ ไม่เว้นวันเสาร์อาทิตย์ เฉลี่ยวันละ 2-3 ชั่วโมง ทำให้เวลาพักผ่อนไม่พอ ไม่ได้ออกกำลังกาย สุขภาพไม่แข็งแรง มีความเครียด สมองอ่อนล้า ขาดสมาธิ เด็กบางคนที่ทนรับไม่ไหว ป่วยบ่อย และบางคนผลการเรียนเลวลง ทั้งที่ใช้เวลาเรียนมากขึ้น
   2.   สร้างพฤติกรรมเห็นแก่ตัวมากขึ้น ขาดความเห็นอกเห็นใจเอื้ออาทรจากพฤติกรรม แย่งที่นั่ง จองที่ให้เพื่อน หวงความรู้
   3.   ภาวะความเสี่ยงสูงขึ้น เนื่องจากการเรียนกวดวิชาเป็นช่วงเวลาเย็นถึงค่ำ จะมีอันตรายต่อเด็ก โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง นอกจากนี้ เด็กบางคนอาจมั่วสุมถือโอกาสเที่ยวต่อ เพราะแหล่งที่เรียนกวดวิชามักจะมีร้านอาหาร ร้านเกมส์ สถานเริงรมย์ ตั้งอยู่ด้วย      ความเสี่ยงจากอุบัติเหตุไฟไหม้ เพราะสถานที่เรียนกวดวิชาหลายแห่ง คับแคบ เป็นห้องเล็กๆ ไม่มีบันไดหนีไฟ
   4.   การเรียนกวดวิชาเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครอบครัว ทั้งค่าเรียน ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าหนังสือ ค่าถ่ายเอกสารอื่นๆ จากการวิจัยของอาจารย์ไพฑูรย์ พบว่าใช้เงินประมาณร้อยละ 10-15 ของรายได้ครอบครัว  

        ในภาพรวมของประเทศ การสูญเงินปีละกว่า 3,000 ล้านบาทเพื่อเรียนกวดวิชานับว่าไม่คุ้มเพราะ
   1.   ด้านวิชาการ    เนื้อหาที่ได้จากการเรียนกวดวิชามักจะเหมือนเดิม  อาจมีเพิ่มเติมเล็กน้อย เด็กนักเรียนได้แต่ความมั่นใจในการทำข้อสอบและเทคนิคทำข้อสอบ ไม่ได้ทำให้สติปัญญาดีขึ้น ไม่เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ ไม่เพิ่มความสามารถด้านวิเคราะห์ สังเคราะห์
   2.   ด้านสังคม    การเรียนเพิ่มวันละ 2-3 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ทำให้เด็กเครียด ไม่ได้ออกกำลังกาย เหนื่อยล้า คุณภาพในการเรียนรู้ลดลง และเป็นวงจรหนึ่งที่ยิ่งขยายช่องว่างความแตกต่างทางเศรษฐกิจและสังคมของคนไทย 

สรุป  

        การเรียนกวดวิชาไม่น่าจะใช่แฟชั่น เพราะไม่เคยหายไปจากสังคมไทยมาหลายสิบปี มีแต่จะเพิ่มขึ้น การเรียนกวดวิชาน่าจะเป็นภาวะจำยอมมากกว่าจำเป็น  เพราะเหตุผลทางด้านวิชาการ จิตวิทยาและสังคม

ปัจจัยนการกวดวิชา

การศึกษาเรื่องการกวดวิชาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ ศึกษาสภาพปัจจุบันของการกวดวิชาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในประเทศไทย โดยทำการศึกษาในประเด็นปริมาณการกวดวิชา ความแตกต่างใน การกวดวิชา และ ลักษณะการเรียนกวดวิชา ศึกษาเหตุผลในการกวดวิชา ประโยชน์ ที่ได้รับจากการกวดวิชา ปัญหา และผลกระทบของการกวดวิชาต่อนักเรียน ผู้ปกครอง และ ครูในสถานศึกษา ศึกษาค่าใช้จ่ายโดยรวมของการกวดวิชา และจัดทำข้อเสนอแนะ ในเชิงนโยบายเกี่ยวกับการกวดวิชา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเก็บข้อมูลผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 3,353 คน แยกเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4, ม.5 และ ม.6) จำนวน 2,167 คน นิสิตนักศึกษาปี 1 จำนวน 618 คน ผู้บริหารโรงเรียนสังกัด กรมสามัญศึกษา 126 คน ครู 158 คน ผู้ปกครอง 207 คน และตัวแทนโรงเรียน กวดวิชา 77 คน ใน 4 จังหวัดหลักคือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่นและสงขลา สะท้อนความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียมกันและความได้เปรียบเสียเปรียบของ การศึกษาไทย สะท้อนการเรียนการสอนที่ไม่น่าสนใจและเน้นการสอบ รวมถึง สะท้อนค่านิยมการเลือกสถาบันมีชื่อของสังคมไทย
           ผลการศึกษาสภาพทั่วไปของการกวดวิชาประมาณการได้ว่า นักเรียนมัธยมศึกษา ตอนปลายทั่วประเทศมีอัตราการกวดวิชาประมาณร้อยละ 30 เมื่อพิจารณาเรื่องความ แตกต่างในการกวดวิชาพบว่านักเรียนในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ เป็นนักเรียนที่มีการกวดวิชามากกว่านักเรียนในแผนอื่น โดยรวมแล้วนักเรียนที่มีผล การเรียนดีจะมีการกวดวิชามากกว่านักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำกว่า เมื่อพิจารณาตาม เขตที่ตั้งของโรงเรียนพบว่า นักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนเขตเมืองนั้น มีอัตราการ กวดวิชาสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนเขตนอกเมืองทุกจังหวัด และทุกระดับ การศึกษาของชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับอาชีพบิดาของนักเรียนนักศึกษาที่กวดวิชา หรือเคยกวดวิชาในภาพรวมพบว่า กลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่บิดาประกอบอาชีพค้าขาย หรือธุรกิจส่วนตัวมีอัตราการกวดวิชามากที่สุด ในขณะที่กลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่บิดา ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม หรือ ประมงนั้น มีอัตราการไม่กวดวิชามากที่สุด
           ลักษณะการเรียนกวดวิชาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในปัจจุบัน ร้อยละ 73.9 ของนักเรียนที่กวดวิชาเรียนกับโรงเรียนกวดวิชา ร้อยละ 36.7 เรียนจากที่ อื่นซึ่งไม่ใช่โรงเรียน กวดวิชา เช่น เรียนกับโครงการที่โรงเรียนจัดให้ เรียนกับครูใน โรงเรียน และเรียนจากที่อื่นที่อยู่ใกล้โรงเรียน นอกจากนั้นแล้วยังมีปริมาณนักเรียน ร้อยละ 20.1 ที่เรียนกวดวิชาจากทั้งโรงเรียนกวดวิชา และ เรียนจากที่อื่นซึ่งไม่ใช่ โรงเรียนกวดวิชา สำหรับวิชาที่มีการเรียนกวดวิชามากที่สุดในทุกระดับการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการเรียนจากโรงเรียนกวดวิชา หรือเรียนจากที่อื่นซึ่งไม่ใช่โรงเรียนกวด วิชาคือวิชาคณิตศาสตร์ โดยนักเรียนในแต่ละระดับส่วนใหญ่แล้วจะเรียน 3 วิชา ในกรณีที่เรียนจากโรงเรียนกวดวิชา และเรียนเพียง 1 วิชาในกรณีที่เรียนจากที่อื่น ซึ่งไม่ใช่โรงเรียนกวดวิชา นักเรียนส่วนใหญ่ในทุกระดับชั้นนั้น จะใช้เวลาใน การเรียนกวดวิชาประมาณสัปดาห์ละ 6 - 10 ชั่วโมง
           สำหรับเหตุผลในการกวดวิชานั้น คำตอบของผู้ตอบสะท้อนจุดอ่อนของระบบการศึกษา ไทยที่เน้นการแข่งขันและการเอาชนะสูงรวมถึงปัญหาการเรียนการสอนในโรงเรียน ปัจจุบัน โดยพบว่าส่วนใหญ่ของกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่กวดวิชามีเหตุผลว่าเพื่อช่วย ให้ผลการเรียนดีขึ้น กลุ่มครูส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการที่นักเรียนกวดวิชานั้น เพื่อ เตรียมสอบเข้าศึกษาต่อ กลุ่มโรงเรียนกวดวิชาส่วนใหญ่มีความเห็นว่านักเรียนนักศึกษา กวดวิชาเพราะต้องการให้ผลการเรียนดีขึ้น ในขณะที่ส่วนใหญ่ของผู้ปกครองก็มีความ เห็นในทำนองเดียวกันคือ นักเรียนกวดวิชาเนื่องจากต้องการให้ผลการเรียนดีขึ้น สำหรับนักเรียนนักศึกษาที่ไม่กวดวิชานั้น ส่วนใหญ่จะให้เหตุผลว่า ค่าเล่าเรียนแพง (ร้อยละ 48.8 ของผู้ที่ไม่ได้เรียนกวดวิชา) คิดว่าสามารถทบทวนด้วยตนเองได้ (ร้อยละ 42.9 ของผู้ที่ไม่ได้เรียนกวดวิชา) และ คิดว่าไม่จำเป็นต้องเรียนกวดวิชา (ร้อยละ 25.4 ของผู้ที่ไม่ได้เรียนกวดวิชา)
           เมื่อพิจารณาในส่วนของประโยชน์ของการกวดวิชาสะท้อนให้เห็นถึงระบบ การศึกษาไทยที่เน้นเรื่องการสอบเป็นสำคัญ โดยพบว่านักเรียนที่เรียนกวดวิชา อยู่ในปัจจุบันจะมีความคาดหวังว่า การกวดวิชาจะช่วยให้ได้เทคนิคในการ ทำข้อสอบมากขึ้น ช่วยให้เข้าใจในวิชาที่เรียนมากขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสการ สอบเข้าศึกษาต่อได้ ได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบ กับกลุ่มผู้ปกครอง ครู และโรงเรียนกวดวิชาแล้ว จะพบว่ามีความคล้ายคลึงกัน และผู้ปกครองคาดหวังว่าการกวดวิชาจะช่วยให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการสอบ มากและได้เทคนิคการทำข้อสอบมากขึ้น นอกเหนือไปจากการได้ใช้เวลาให้เป็น ประโยชน์และความเข้าใจในวิชาที่เรียนมากขึ้น สำหรับกลุ่มโรงเรียนกวดวิชา นั้น นอกเหนือไปจากประโยชน์ที่ได้ในเรื่องที่ช่วยให้มีความเข้าใจในวิชาที่เรียน มากขึ้น มีความมั่นใจในการสอบมากขึ้นและช่วยให้ได้เทคนิคการทำข้อสอบมาก ขึ้นแล้วนั้น ยังมีความเห็นว่าการกวดวิชาจะช่วยให้ผู้เรียนได้คะแนนสอบใน โรงเรียนดีขึ้นอีกด้วย
         สำหรับผลกระทบจากการกวดวิชานั้น กลุ่มครูมีความเห็นว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นในทุก ประเด็นนั้นมีอยู่ในระดับที่สูงกว่าความเห็นของกลุ่มโรงเรียนกวดวิชา เช่น ประเด็นเรื่อง ผู้ปกครองนักเรียนเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น เวลาที่นักเรียนจะอยู่กับครอบครัวลดลง และ นักเรียนไม่มีเวลาทำกิจกรรมอย่างอื่น สำหรับผลกระทบเรื่องครูที่สอนกวดวิชาอาจ ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนปกติได้น้อยลงนั้น ครูที่ไม่ได้สอนกวดวิชามีความเห็นว่าเป็น ผลกระทบในระดับที่สูงกว่าความเห็นของกลุ่มครูที่สอนกวดวิชา เมื่อพิจารณาเรื่อง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการกวดวิชา โดยแยกเป็นค่าเล่าเรียน และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ เกี่ยวข้อง พบว่าในส่วนของค่าเล่าเรียนนั้น มีความหลากหลายแตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยส่วนใหญ่พบว่าในกรณีที่เรียนจากโรงเรียนกวดวิชานั้น ค่าเล่าเรียนจะประมาณ 1,800 บาทต่อคอร์ส และ ประมาณ 1,400 บาทต่อคอร์สกรณีที่เรียนจากที่อื่นซึ่ง ไม่ใช่โรงเรียนกวดวิชา นักเรียนที่เรียนกวดวิชาจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าเดินทาง ค่าขนม เป็นต้น เดือนละ 400 บาท จากประมาณการว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลายร้อยละ 30 มีการกวดวิชา โดยเรียนจากโรงเรียนกวดวิชา 3 วิชา และ เรียนจากที่อื่นซึ่งไม่ใช่โรงเรียนกวดวิชา 1 วิชาต่อปีนั้น ค่าใช้จ่ายโดยรวมที่เกิด ขึ้นจะมีค่าประมาณ 3,318,050,000 บาทต่อปี
         ส่วนข้อเสนอแนะเพื่อการลดการกวดวิชานั้น ส่วนใหญ่ของทุกกลุ่มมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ต้องพัฒนาการสอนของครูในโรงเรียนให้ดีขึ้นเป็นปริมาณมากที่สุด ร้อยละ 68.9 นอกจาก นั้นแล้วยังเสนอว่าต้องพัฒนาให้โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยทุกแห่งมีคุณภาพเท่าเทียมกัน และลดค่านิยมในการเข้าศึกษาต่อในสถาบันที่มีชื่อเสียง ร้อยละ 66.4 และร้อยละ 50.9 ตาม ลำดับ สำหรับประเด็นเรื่องการใช้ GPA ในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อและการยกเลิกการสอบ ที่ศึกษาต่อและการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อโดยใช้เขตพื้นที่นั้นไม่ลดการกวดวิชามากนัก
ไพฑูรย์ สินลารัตน์
         โดยภาพรวมแล้ว ผลการศึกษาครั้งนี้ได้ตอกย้ำและยืนยันปัญหาการศึกษาของไทยที่มีมาเป็นเวลา ยาวนานนั้นคือมีความเหลื่อมล้ำ แตกต่างและมีความไม่เท่าเทียมกันสูง สะท้อนปัญหาสำคัญของ การศึกษาไทยคือเน้นการเรียนการสอนที่ยังเน้นการสอบสูง มีการแข่งขันตามมามาก และการ เรียนการสอนในโรงเรียนยังมีปัญหามากโดยเฉพาะในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภาษา อังกฤษ ระบบดังกล่าวนำไปสู่ค่านิยมของการเลือกสถาบันมีชื่อ ทางแก้จึงกลับมาอยู่ที่พื้นฐานหลัก คือการส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาการสอนอย่างแท้จริงและมีคุณภาพสูงพร้อมทั้งมีความสนุกและ น่าสนใจ ในขณะเดียวกันรัฐก็จะต้องทำให้ความไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษานั้นลดน้อยลง โดย ภาพรวมจึงต้องดู 2 แนวทางหลัก คือในส่วนของการกวดวิชา รัฐจะต้องร่วมมือกับเด็ก ผู้ปกครอง โรงเรียนกวดวิชาเอง กำหนดเกณฑ์คุณภาพของโรงเรียนกวดวิชาขึ้นมาแล้วดูแลให้ปฏิบัติได้ ส่งเสริมโครงการระยะสั้น เตรียมความพร้อมให้เด็กที่ขาดโอกาสเรียนเสริม ในส่วนของระบบ ารศึกษาโดยรวมจะต้องปรับระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยหรือเข้าศึกษาต่อในระดับ ชั้นต่างๆ ใหม่ ปรับปรุงการเรียนการสอนในโรงเรียนให้เป็น Creative และ Innovative School รวมถึงการกระจายคุณภาพและโอกาสทางการศึกษาให้ กว้างขวางใกล้เคียงกัน

เครดิต

การศึกษาของเด็กไทย

 การศึกษาของเด็กไทยเริ่มต้นจากสถาบัน ครอบครัว คือ บ้าน ถือเป็นโรงเรียนแห่งแรกของเด็ก เป็นที่ที่เด็กได้
 รับความรักและความรู้ตั้งแต่ยังแบเบาะ    พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ปู่ย่าตายายเปรียบเสมือน ครู คนแรก    ที่เป็นผู้เลี้ยงดู
 อบรมสั่งสอน หุงหาอาหาร ปกป้องคุ้มภัย และพยาบาลยามเจ็บป่วย หรือพาไปหาหมอ 

 เมื่อเด็กเล็กเดินได้ พูดจาพอรู้เรื่อง อายุครบ ๓ ขวบ ก็ถึงเกณฑ์เข้ารับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ถือเป็นหน้าที่ของพ่อแม่
 ผู้ปกครองที่จะพาเด็กเข้าเรียน ชั้นอนุบาล      การเรียนอนุบาลหรือเตรียมอนุบาลเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กเล็กก่อนเรียนชั้นประถมศึกษา เด็กจะได้รับการฝึกทักษะพื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะทักษะการใช้มือ     ความมีระเบียบวินัย  
 การอยู่ร่วมกับผู้อื่น  การพูดจาไพเราะ การไหว้  การกล่าวคำสวัสดี ขอโทษ และขอบคุณ   ฝึกรับประทานอาหารเอง รู้จัก
 สุขอนามัยที่ดี  ฝึกทักษะมือทำงานศิลปะ เช่น ระบายสี วาดรูป  ได้ออกกำลังกาย ร้องรำทำเพลง  ไปจนถึงฝึกเขียนอักษร
 และพยัญชนะไทย และตัวเลข การเรียนชั้นอนุบาลนี้ใช้เวลา ปี   

 ต่อจากนั้นเด็กจะเข้าเรียน ประถมศึกษา โดยใช้เวลาเรียน ๖ ปี เพื่อศึกษาหาความรู้หมวดวิชาต่างๆ  ซึ่งเป็นหลักสูตร
 มาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต (สปช.) วิชาสร้างเสริมลักษณะนิสัย (สสน.)
 การงานพื้นฐานอาชีพ (กพอ.) วิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ  และภาษาไทย  เด็กๆ จะได้ความรู้รอบตัว  เปิดโลกทัศน์ของตัวเองให้กว้างขึ้น กล้าแสดงความคิดเห็นและแสดงออก เห็นวี่แววความถนัดพิเศษในบางวิชาของเด็ก

 เมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วเด็กๆ จะเข้าเรียนต่อในระดับ มัธยมศึกษา ต่อเนื่องอีก ๖ ปี โดย ๓ ปีแรกเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เรียนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ  คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา พระพุทธศาสนา สุขศึกษา  พลศึกษา และศิลปศึกษา  แล้วเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอีก ๓ ปีโดยใน ๓ ปีหลังนี้เด็กจะเลือกเรียนสายใดสายหนึ่งใน ๓ สายตามความสนใจและความถนัดของตน  คือ สายวิทย์ สายศิลป์-คำนวณ และสายศิลป์-ภาษา      เด็กไทยจำนวนมากอาจไม่สามารถหรือไม่มีโอกาสได้เรียนต่อจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เพราะความยากจน พ่อแม่ไม่สนับสนุน  ต้องช่วยเหลือทางบ้านทำมาหากิน เลี้ยงน้อง บ้านไกล หรือมีอุปสรรคบางประการ      สรุปว่าเด็กแต่ละคนจะใช้เวลา ๑๒ ปี
เรียนหนังสือให้จบการศึกษาภาคบังคับตามที่ภาครัฐกำหนด  

 อย่างไรก็ตาม เด็กและเยาวชนยังมีทางเลือกในระหว่างที่เรียนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ถ้าหากต้องการเลือกศึกษาต่อสาย
 อาชีพ เพราะต้องการออกไปประกอบอาชีพสายพาณิชย์ หรือสายช่างกลด้วยมีความถนัดและรักในงานอาชีพ  ก็สามารถ
 เลือกเรียนต่อ อาชีวศึกษา ได้  โดยสายอาชีวศึกษาได้จัดเตรียมหลักสูตรเพื่อการศึกษาอีก ๓ ปีต่อจากมัธยมศึกษาปีที่
 ๓ จะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหากศึกษาในสายอาชีวศึกษาต่อเป็นเวลา ๖ ปี  จะได้รับประกาศนียบัตร
 วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่าอนุปริญญา  

 ส่วนเด็กที่ตั้งเป้าหมายศึกษาต่อในระดับ อุดมศึกษา หรือ มหาวิทยาลัย ซึ่งจะได้รับปริญญาตรีเมื่อจบการศึกษา
  ต้องจบมัธยมศึกษาปีที่ ๖ และผ่านการสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยทั่วประเทศ โดยปัจจุบันการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
         มีการเก็บผลคะแนนเฉลี่ยสะสม ๓ ปีจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ -  มารวมกับผลการสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยด้วย  
              ดังนั้นช่วงที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะส่งผลถึงอนาคตของเด็กและเยาวชนคือการเรียนชั้นมัธยมศึกษา   ผู้ปกครองและครู
              จึงมีหน้าที่ให้คำแนะนำแก่เด็ก  โดยพิจารณาความสามารถของเด็ก  เพื่อให้เด็กตัดสินใจเลือกทางเดินสู่อนาคตได้อย่าง
              สมเหตุผลและถูกทิศทาง  การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยมีทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัยเปิด     ซึ่ง
              ระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัยแบ่งเป็นคณะเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนรักและฝันอยากจะเป็นในอนาคต   เป้า 
              หมายการเป็นบัณฑิตคือ การนำความรู้คู่คุณธรรมไปประกอบสัมมาอาชีพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ วิศวกร
              สถาปนิก นักวิทยาศาสตร์ นักสื่อสารมวลชน  ครู/อาจารย์ นักเศรษฐศาสตร์ นักการเงินการธนาคาร นักธุรกิจ เป็นต้น
              เพื่อช่วยเหลือตัวเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติสืบไป  

 เนื่องจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโลกโลกาภิวัตน์ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและ
 ไม่สิ้นสุด ทำให้การสภาพการแข่งขันสูงด้านเศรษฐกิจการค้าทั้งในประเทศและนอกประเทศ   ผู้คนขวนขวายเรียนรู้
 มากขึ้น  เป้าหมายการศึกษาของเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่และที่มีกำลังความสามารถจึงมีความต้องการศึกษาสูงขึ้นใน
 ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โดยมีทางเลือกที่จะเข้าศึกษาต่อกับมหาวิทยาลัยของรัฐหรือเอกชน ในประเทศและ
 ต่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญและมีบริการด้านการศึกษาในสาขาวิชานั้นๆ

         นอกเหนือจากระบบการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้นซึ่งเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ในระบบนี้ แต่ก็ยังมีเด็ก
              และเยาวชนด้อยโอกาสอีกจำนวนไม่น้อยที่แม้จะไม่ได้อยู่ในระบบนี้  แต่ภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชนก็
              ได้ร่วมมือดูแลให้เด็กเหล่านี้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง  เช่น กลุ่มเด็กพิการ ตาบอด หูหนวก พิการทางสมอง พิการ
              ซ้ำซ้อน เด็กออทิสติก   การศึกษาพิเศษเหล่านี้นับรวมถึง ระบบการศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาผู้ใหญ่ การศึกษา
              ทางไกลผ่านดาวเทียม การจัดให้มีห้องสมุดชุมชนเพื่อการเรียนรู้ด้วตนเอง รวมถึงการเรียนรู้ในชุมชนด้วยภูมิปัญญา
              ท้องถิ่นด้วย

              เหนือสิ่งอื่นใด การศึกษา น่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้คนเป็น คนที่มีคุณภาพ เพราะการศึกษาเป็นขบวนการทำ
              ให้คนมีความรู้ และมีคุณสมบัติต่างๆ ที่จะช่วยให้คนคนนั้นอยู่รอดในโลกได้ เป็นประโยชน์กับตนเอง กับครอบครัว
              ประเทศชาติ และสังคมโลกโดยส่วนรวม