วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554

การศึกษาของเด็กไทย

 การศึกษาของเด็กไทยเริ่มต้นจากสถาบัน ครอบครัว คือ บ้าน ถือเป็นโรงเรียนแห่งแรกของเด็ก เป็นที่ที่เด็กได้
 รับความรักและความรู้ตั้งแต่ยังแบเบาะ    พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ปู่ย่าตายายเปรียบเสมือน ครู คนแรก    ที่เป็นผู้เลี้ยงดู
 อบรมสั่งสอน หุงหาอาหาร ปกป้องคุ้มภัย และพยาบาลยามเจ็บป่วย หรือพาไปหาหมอ 

 เมื่อเด็กเล็กเดินได้ พูดจาพอรู้เรื่อง อายุครบ ๓ ขวบ ก็ถึงเกณฑ์เข้ารับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ถือเป็นหน้าที่ของพ่อแม่
 ผู้ปกครองที่จะพาเด็กเข้าเรียน ชั้นอนุบาล      การเรียนอนุบาลหรือเตรียมอนุบาลเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กเล็กก่อนเรียนชั้นประถมศึกษา เด็กจะได้รับการฝึกทักษะพื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะทักษะการใช้มือ     ความมีระเบียบวินัย  
 การอยู่ร่วมกับผู้อื่น  การพูดจาไพเราะ การไหว้  การกล่าวคำสวัสดี ขอโทษ และขอบคุณ   ฝึกรับประทานอาหารเอง รู้จัก
 สุขอนามัยที่ดี  ฝึกทักษะมือทำงานศิลปะ เช่น ระบายสี วาดรูป  ได้ออกกำลังกาย ร้องรำทำเพลง  ไปจนถึงฝึกเขียนอักษร
 และพยัญชนะไทย และตัวเลข การเรียนชั้นอนุบาลนี้ใช้เวลา ปี   

 ต่อจากนั้นเด็กจะเข้าเรียน ประถมศึกษา โดยใช้เวลาเรียน ๖ ปี เพื่อศึกษาหาความรู้หมวดวิชาต่างๆ  ซึ่งเป็นหลักสูตร
 มาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต (สปช.) วิชาสร้างเสริมลักษณะนิสัย (สสน.)
 การงานพื้นฐานอาชีพ (กพอ.) วิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ  และภาษาไทย  เด็กๆ จะได้ความรู้รอบตัว  เปิดโลกทัศน์ของตัวเองให้กว้างขึ้น กล้าแสดงความคิดเห็นและแสดงออก เห็นวี่แววความถนัดพิเศษในบางวิชาของเด็ก

 เมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วเด็กๆ จะเข้าเรียนต่อในระดับ มัธยมศึกษา ต่อเนื่องอีก ๖ ปี โดย ๓ ปีแรกเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เรียนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ  คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา พระพุทธศาสนา สุขศึกษา  พลศึกษา และศิลปศึกษา  แล้วเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอีก ๓ ปีโดยใน ๓ ปีหลังนี้เด็กจะเลือกเรียนสายใดสายหนึ่งใน ๓ สายตามความสนใจและความถนัดของตน  คือ สายวิทย์ สายศิลป์-คำนวณ และสายศิลป์-ภาษา      เด็กไทยจำนวนมากอาจไม่สามารถหรือไม่มีโอกาสได้เรียนต่อจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เพราะความยากจน พ่อแม่ไม่สนับสนุน  ต้องช่วยเหลือทางบ้านทำมาหากิน เลี้ยงน้อง บ้านไกล หรือมีอุปสรรคบางประการ      สรุปว่าเด็กแต่ละคนจะใช้เวลา ๑๒ ปี
เรียนหนังสือให้จบการศึกษาภาคบังคับตามที่ภาครัฐกำหนด  

 อย่างไรก็ตาม เด็กและเยาวชนยังมีทางเลือกในระหว่างที่เรียนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ถ้าหากต้องการเลือกศึกษาต่อสาย
 อาชีพ เพราะต้องการออกไปประกอบอาชีพสายพาณิชย์ หรือสายช่างกลด้วยมีความถนัดและรักในงานอาชีพ  ก็สามารถ
 เลือกเรียนต่อ อาชีวศึกษา ได้  โดยสายอาชีวศึกษาได้จัดเตรียมหลักสูตรเพื่อการศึกษาอีก ๓ ปีต่อจากมัธยมศึกษาปีที่
 ๓ จะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหากศึกษาในสายอาชีวศึกษาต่อเป็นเวลา ๖ ปี  จะได้รับประกาศนียบัตร
 วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่าอนุปริญญา  

 ส่วนเด็กที่ตั้งเป้าหมายศึกษาต่อในระดับ อุดมศึกษา หรือ มหาวิทยาลัย ซึ่งจะได้รับปริญญาตรีเมื่อจบการศึกษา
  ต้องจบมัธยมศึกษาปีที่ ๖ และผ่านการสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยทั่วประเทศ โดยปัจจุบันการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
         มีการเก็บผลคะแนนเฉลี่ยสะสม ๓ ปีจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ -  มารวมกับผลการสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยด้วย  
              ดังนั้นช่วงที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะส่งผลถึงอนาคตของเด็กและเยาวชนคือการเรียนชั้นมัธยมศึกษา   ผู้ปกครองและครู
              จึงมีหน้าที่ให้คำแนะนำแก่เด็ก  โดยพิจารณาความสามารถของเด็ก  เพื่อให้เด็กตัดสินใจเลือกทางเดินสู่อนาคตได้อย่าง
              สมเหตุผลและถูกทิศทาง  การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยมีทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัยเปิด     ซึ่ง
              ระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัยแบ่งเป็นคณะเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนรักและฝันอยากจะเป็นในอนาคต   เป้า 
              หมายการเป็นบัณฑิตคือ การนำความรู้คู่คุณธรรมไปประกอบสัมมาอาชีพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ วิศวกร
              สถาปนิก นักวิทยาศาสตร์ นักสื่อสารมวลชน  ครู/อาจารย์ นักเศรษฐศาสตร์ นักการเงินการธนาคาร นักธุรกิจ เป็นต้น
              เพื่อช่วยเหลือตัวเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติสืบไป  

 เนื่องจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโลกโลกาภิวัตน์ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและ
 ไม่สิ้นสุด ทำให้การสภาพการแข่งขันสูงด้านเศรษฐกิจการค้าทั้งในประเทศและนอกประเทศ   ผู้คนขวนขวายเรียนรู้
 มากขึ้น  เป้าหมายการศึกษาของเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่และที่มีกำลังความสามารถจึงมีความต้องการศึกษาสูงขึ้นใน
 ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โดยมีทางเลือกที่จะเข้าศึกษาต่อกับมหาวิทยาลัยของรัฐหรือเอกชน ในประเทศและ
 ต่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญและมีบริการด้านการศึกษาในสาขาวิชานั้นๆ

         นอกเหนือจากระบบการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้นซึ่งเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ในระบบนี้ แต่ก็ยังมีเด็ก
              และเยาวชนด้อยโอกาสอีกจำนวนไม่น้อยที่แม้จะไม่ได้อยู่ในระบบนี้  แต่ภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชนก็
              ได้ร่วมมือดูแลให้เด็กเหล่านี้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง  เช่น กลุ่มเด็กพิการ ตาบอด หูหนวก พิการทางสมอง พิการ
              ซ้ำซ้อน เด็กออทิสติก   การศึกษาพิเศษเหล่านี้นับรวมถึง ระบบการศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาผู้ใหญ่ การศึกษา
              ทางไกลผ่านดาวเทียม การจัดให้มีห้องสมุดชุมชนเพื่อการเรียนรู้ด้วตนเอง รวมถึงการเรียนรู้ในชุมชนด้วยภูมิปัญญา
              ท้องถิ่นด้วย

              เหนือสิ่งอื่นใด การศึกษา น่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้คนเป็น คนที่มีคุณภาพ เพราะการศึกษาเป็นขบวนการทำ
              ให้คนมีความรู้ และมีคุณสมบัติต่างๆ ที่จะช่วยให้คนคนนั้นอยู่รอดในโลกได้ เป็นประโยชน์กับตนเอง กับครอบครัว
              ประเทศชาติ และสังคมโลกโดยส่วนรวม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น