วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554

ปัจจัยนการกวดวิชา

การศึกษาเรื่องการกวดวิชาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ ศึกษาสภาพปัจจุบันของการกวดวิชาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในประเทศไทย โดยทำการศึกษาในประเด็นปริมาณการกวดวิชา ความแตกต่างใน การกวดวิชา และ ลักษณะการเรียนกวดวิชา ศึกษาเหตุผลในการกวดวิชา ประโยชน์ ที่ได้รับจากการกวดวิชา ปัญหา และผลกระทบของการกวดวิชาต่อนักเรียน ผู้ปกครอง และ ครูในสถานศึกษา ศึกษาค่าใช้จ่ายโดยรวมของการกวดวิชา และจัดทำข้อเสนอแนะ ในเชิงนโยบายเกี่ยวกับการกวดวิชา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเก็บข้อมูลผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 3,353 คน แยกเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4, ม.5 และ ม.6) จำนวน 2,167 คน นิสิตนักศึกษาปี 1 จำนวน 618 คน ผู้บริหารโรงเรียนสังกัด กรมสามัญศึกษา 126 คน ครู 158 คน ผู้ปกครอง 207 คน และตัวแทนโรงเรียน กวดวิชา 77 คน ใน 4 จังหวัดหลักคือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่นและสงขลา สะท้อนความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียมกันและความได้เปรียบเสียเปรียบของ การศึกษาไทย สะท้อนการเรียนการสอนที่ไม่น่าสนใจและเน้นการสอบ รวมถึง สะท้อนค่านิยมการเลือกสถาบันมีชื่อของสังคมไทย
           ผลการศึกษาสภาพทั่วไปของการกวดวิชาประมาณการได้ว่า นักเรียนมัธยมศึกษา ตอนปลายทั่วประเทศมีอัตราการกวดวิชาประมาณร้อยละ 30 เมื่อพิจารณาเรื่องความ แตกต่างในการกวดวิชาพบว่านักเรียนในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ เป็นนักเรียนที่มีการกวดวิชามากกว่านักเรียนในแผนอื่น โดยรวมแล้วนักเรียนที่มีผล การเรียนดีจะมีการกวดวิชามากกว่านักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำกว่า เมื่อพิจารณาตาม เขตที่ตั้งของโรงเรียนพบว่า นักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนเขตเมืองนั้น มีอัตราการ กวดวิชาสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนเขตนอกเมืองทุกจังหวัด และทุกระดับ การศึกษาของชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับอาชีพบิดาของนักเรียนนักศึกษาที่กวดวิชา หรือเคยกวดวิชาในภาพรวมพบว่า กลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่บิดาประกอบอาชีพค้าขาย หรือธุรกิจส่วนตัวมีอัตราการกวดวิชามากที่สุด ในขณะที่กลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่บิดา ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม หรือ ประมงนั้น มีอัตราการไม่กวดวิชามากที่สุด
           ลักษณะการเรียนกวดวิชาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในปัจจุบัน ร้อยละ 73.9 ของนักเรียนที่กวดวิชาเรียนกับโรงเรียนกวดวิชา ร้อยละ 36.7 เรียนจากที่ อื่นซึ่งไม่ใช่โรงเรียน กวดวิชา เช่น เรียนกับโครงการที่โรงเรียนจัดให้ เรียนกับครูใน โรงเรียน และเรียนจากที่อื่นที่อยู่ใกล้โรงเรียน นอกจากนั้นแล้วยังมีปริมาณนักเรียน ร้อยละ 20.1 ที่เรียนกวดวิชาจากทั้งโรงเรียนกวดวิชา และ เรียนจากที่อื่นซึ่งไม่ใช่ โรงเรียนกวดวิชา สำหรับวิชาที่มีการเรียนกวดวิชามากที่สุดในทุกระดับการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการเรียนจากโรงเรียนกวดวิชา หรือเรียนจากที่อื่นซึ่งไม่ใช่โรงเรียนกวด วิชาคือวิชาคณิตศาสตร์ โดยนักเรียนในแต่ละระดับส่วนใหญ่แล้วจะเรียน 3 วิชา ในกรณีที่เรียนจากโรงเรียนกวดวิชา และเรียนเพียง 1 วิชาในกรณีที่เรียนจากที่อื่น ซึ่งไม่ใช่โรงเรียนกวดวิชา นักเรียนส่วนใหญ่ในทุกระดับชั้นนั้น จะใช้เวลาใน การเรียนกวดวิชาประมาณสัปดาห์ละ 6 - 10 ชั่วโมง
           สำหรับเหตุผลในการกวดวิชานั้น คำตอบของผู้ตอบสะท้อนจุดอ่อนของระบบการศึกษา ไทยที่เน้นการแข่งขันและการเอาชนะสูงรวมถึงปัญหาการเรียนการสอนในโรงเรียน ปัจจุบัน โดยพบว่าส่วนใหญ่ของกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่กวดวิชามีเหตุผลว่าเพื่อช่วย ให้ผลการเรียนดีขึ้น กลุ่มครูส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการที่นักเรียนกวดวิชานั้น เพื่อ เตรียมสอบเข้าศึกษาต่อ กลุ่มโรงเรียนกวดวิชาส่วนใหญ่มีความเห็นว่านักเรียนนักศึกษา กวดวิชาเพราะต้องการให้ผลการเรียนดีขึ้น ในขณะที่ส่วนใหญ่ของผู้ปกครองก็มีความ เห็นในทำนองเดียวกันคือ นักเรียนกวดวิชาเนื่องจากต้องการให้ผลการเรียนดีขึ้น สำหรับนักเรียนนักศึกษาที่ไม่กวดวิชานั้น ส่วนใหญ่จะให้เหตุผลว่า ค่าเล่าเรียนแพง (ร้อยละ 48.8 ของผู้ที่ไม่ได้เรียนกวดวิชา) คิดว่าสามารถทบทวนด้วยตนเองได้ (ร้อยละ 42.9 ของผู้ที่ไม่ได้เรียนกวดวิชา) และ คิดว่าไม่จำเป็นต้องเรียนกวดวิชา (ร้อยละ 25.4 ของผู้ที่ไม่ได้เรียนกวดวิชา)
           เมื่อพิจารณาในส่วนของประโยชน์ของการกวดวิชาสะท้อนให้เห็นถึงระบบ การศึกษาไทยที่เน้นเรื่องการสอบเป็นสำคัญ โดยพบว่านักเรียนที่เรียนกวดวิชา อยู่ในปัจจุบันจะมีความคาดหวังว่า การกวดวิชาจะช่วยให้ได้เทคนิคในการ ทำข้อสอบมากขึ้น ช่วยให้เข้าใจในวิชาที่เรียนมากขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสการ สอบเข้าศึกษาต่อได้ ได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบ กับกลุ่มผู้ปกครอง ครู และโรงเรียนกวดวิชาแล้ว จะพบว่ามีความคล้ายคลึงกัน และผู้ปกครองคาดหวังว่าการกวดวิชาจะช่วยให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการสอบ มากและได้เทคนิคการทำข้อสอบมากขึ้น นอกเหนือไปจากการได้ใช้เวลาให้เป็น ประโยชน์และความเข้าใจในวิชาที่เรียนมากขึ้น สำหรับกลุ่มโรงเรียนกวดวิชา นั้น นอกเหนือไปจากประโยชน์ที่ได้ในเรื่องที่ช่วยให้มีความเข้าใจในวิชาที่เรียน มากขึ้น มีความมั่นใจในการสอบมากขึ้นและช่วยให้ได้เทคนิคการทำข้อสอบมาก ขึ้นแล้วนั้น ยังมีความเห็นว่าการกวดวิชาจะช่วยให้ผู้เรียนได้คะแนนสอบใน โรงเรียนดีขึ้นอีกด้วย
         สำหรับผลกระทบจากการกวดวิชานั้น กลุ่มครูมีความเห็นว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นในทุก ประเด็นนั้นมีอยู่ในระดับที่สูงกว่าความเห็นของกลุ่มโรงเรียนกวดวิชา เช่น ประเด็นเรื่อง ผู้ปกครองนักเรียนเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น เวลาที่นักเรียนจะอยู่กับครอบครัวลดลง และ นักเรียนไม่มีเวลาทำกิจกรรมอย่างอื่น สำหรับผลกระทบเรื่องครูที่สอนกวดวิชาอาจ ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนปกติได้น้อยลงนั้น ครูที่ไม่ได้สอนกวดวิชามีความเห็นว่าเป็น ผลกระทบในระดับที่สูงกว่าความเห็นของกลุ่มครูที่สอนกวดวิชา เมื่อพิจารณาเรื่อง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการกวดวิชา โดยแยกเป็นค่าเล่าเรียน และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ เกี่ยวข้อง พบว่าในส่วนของค่าเล่าเรียนนั้น มีความหลากหลายแตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยส่วนใหญ่พบว่าในกรณีที่เรียนจากโรงเรียนกวดวิชานั้น ค่าเล่าเรียนจะประมาณ 1,800 บาทต่อคอร์ส และ ประมาณ 1,400 บาทต่อคอร์สกรณีที่เรียนจากที่อื่นซึ่ง ไม่ใช่โรงเรียนกวดวิชา นักเรียนที่เรียนกวดวิชาจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าเดินทาง ค่าขนม เป็นต้น เดือนละ 400 บาท จากประมาณการว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลายร้อยละ 30 มีการกวดวิชา โดยเรียนจากโรงเรียนกวดวิชา 3 วิชา และ เรียนจากที่อื่นซึ่งไม่ใช่โรงเรียนกวดวิชา 1 วิชาต่อปีนั้น ค่าใช้จ่ายโดยรวมที่เกิด ขึ้นจะมีค่าประมาณ 3,318,050,000 บาทต่อปี
         ส่วนข้อเสนอแนะเพื่อการลดการกวดวิชานั้น ส่วนใหญ่ของทุกกลุ่มมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ต้องพัฒนาการสอนของครูในโรงเรียนให้ดีขึ้นเป็นปริมาณมากที่สุด ร้อยละ 68.9 นอกจาก นั้นแล้วยังเสนอว่าต้องพัฒนาให้โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยทุกแห่งมีคุณภาพเท่าเทียมกัน และลดค่านิยมในการเข้าศึกษาต่อในสถาบันที่มีชื่อเสียง ร้อยละ 66.4 และร้อยละ 50.9 ตาม ลำดับ สำหรับประเด็นเรื่องการใช้ GPA ในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อและการยกเลิกการสอบ ที่ศึกษาต่อและการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อโดยใช้เขตพื้นที่นั้นไม่ลดการกวดวิชามากนัก
ไพฑูรย์ สินลารัตน์
         โดยภาพรวมแล้ว ผลการศึกษาครั้งนี้ได้ตอกย้ำและยืนยันปัญหาการศึกษาของไทยที่มีมาเป็นเวลา ยาวนานนั้นคือมีความเหลื่อมล้ำ แตกต่างและมีความไม่เท่าเทียมกันสูง สะท้อนปัญหาสำคัญของ การศึกษาไทยคือเน้นการเรียนการสอนที่ยังเน้นการสอบสูง มีการแข่งขันตามมามาก และการ เรียนการสอนในโรงเรียนยังมีปัญหามากโดยเฉพาะในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภาษา อังกฤษ ระบบดังกล่าวนำไปสู่ค่านิยมของการเลือกสถาบันมีชื่อ ทางแก้จึงกลับมาอยู่ที่พื้นฐานหลัก คือการส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาการสอนอย่างแท้จริงและมีคุณภาพสูงพร้อมทั้งมีความสนุกและ น่าสนใจ ในขณะเดียวกันรัฐก็จะต้องทำให้ความไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษานั้นลดน้อยลง โดย ภาพรวมจึงต้องดู 2 แนวทางหลัก คือในส่วนของการกวดวิชา รัฐจะต้องร่วมมือกับเด็ก ผู้ปกครอง โรงเรียนกวดวิชาเอง กำหนดเกณฑ์คุณภาพของโรงเรียนกวดวิชาขึ้นมาแล้วดูแลให้ปฏิบัติได้ ส่งเสริมโครงการระยะสั้น เตรียมความพร้อมให้เด็กที่ขาดโอกาสเรียนเสริม ในส่วนของระบบ ารศึกษาโดยรวมจะต้องปรับระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยหรือเข้าศึกษาต่อในระดับ ชั้นต่างๆ ใหม่ ปรับปรุงการเรียนการสอนในโรงเรียนให้เป็น Creative และ Innovative School รวมถึงการกระจายคุณภาพและโอกาสทางการศึกษาให้ กว้างขวางใกล้เคียงกัน

เครดิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น